หน้าแรก / ความรู้สุขภาพ

โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ

นายแพทย์ชาญจิตร์ แสงวัฒนะรัตน์

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางศัลยกรรมกระดูกและข้อ

โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ เป็นโรคที่พบได้บ่อยช่วงอายุประมาณ 50 ปีขึ้นไป มีอาการปวดหลังระดับเอว เมื่ออายุมาขึ้นมีการใช้งานมานานกระดูกสันหลัง จะเกิดการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลัง และข้อกระดูกสันหลัง เมื่อมีการเสื่อมเกิดขึ้น กระดูกสันหลังก็จะมีการสร้างพังผืดหนาตัวขึ้นมา มีกระดูกงอก หรือว่าหินปูนสร้างมากขึ้นเบียดโพรงกระดูกสันหลังซึ่งเป็นที่อยู่ของเส้นประสาทไขสันหลัง เกิดการกดทับ เส้นประสาทไขสันหลังมากขึ้นก็จะมีอาการปวดร้าวลงขา ทำให้รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันได้

อาการ

1.ปวดหลังร้าวลงขา ใต้เข่า

2.ปวดมาก เวลาเดิน ปวดน่องมาก ต้องหยุดเดิน หรือนั่งเป็นระยะๆ

3.ถ้าอาการปวดรุนแรงมาก ผู้ป่วยอาจมีอาการชา ขาอ่อนแรง

4.การขับถ่ายผิดปกติ กลั้นปัสสาวะ อุจจาระไม่ได้

5.อาการอาจดีขึ้นเมื่อคนป่วยได้ก้มตัว หรือนั่งลง

ในการวินิจฉัยโรค

1.วินิจฉัยโรคได้จากประวัติเดิมของคนไข้ อาการปวดหลังร้าวลงขา

2.ส่ง X-Ray ภาพกระดูกสันหลัง ปกติจะพบว่ามีกระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม

3.ต้องการทราบว่าเป็นมากน้อยแค่ไหนจะส่งตรวจMRI หรือ X-Ray คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อจะช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบ และช่วยระบุตำแหน่งและขอบเขตของโรคว่าเป็นมากหรือน้อย ช่วยประกอบการรักษาเรื่องผ่าตัด

การรักษา

1.คนไข้ที่มีอาการไม่มาก จะรักษาโดยการทานยา ยาแก้อักเสบ ยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาแก้ปวดเส้นประสาท รวมถึงยาผ่อนคลาย เพื่อให้คนไข้พักผ่อนได้ นอกจากนั้นยังมีการทำกายภาพบำบัด เพื่อลดอาการปวดหลัง กระตุ้นไฟฟ้า รวมถึงการบริหารกล้ามเนื้อหลัง กล้ามเนื้อหน้าท้อง

2.ในกรณีที่การรักษาทานยาไม่ได้ผล คนไข้มีอาการปวดตลอดเวลาและคนไข้ไม่พร้อมที่จะทำการผ่าตัด ก็จะมีการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาทสันหลัง เป็นการขยายโพรงกระดูกสันหลังได้ระดับหนึ่ง เพื่อช่วยระงับอาการปวดได้ระดับหนึ่ง แต่อาจจะมีอาการปวดขึ้นมาอีกได้ในภายหลัง

3.การรักษาโดยการผ่าตัด จะเริ่มผ่าตัดต่อเมื่อคนไข้มีอาการมากขึ้น มีอาการปวดขา ชาขา เดินไกลไม่ได้ ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ มีอาการกลั้นอุจจาระ ปัสสาวะลำบาก

ทำการรักษาโดยการผ่าตัดเพื่อที่ลดการกดทับเส้นประสาทโดยการผ่าตัดเข้าไปขยายโพรงกระดูกสันหลัง จะช่วยลดการกดทับเส้นประสาท อาจจะมีการใส่สกรูยึดกระดูกสันหลังให้มั่นคงแข็งแรงมากขึ้น เวลาที่คนไข้เป็นหลายระดับก็จะใส่สกรูเข้าไป เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ระยะเวลาในการรักษาตัวที่ รพ.ประมาณ 5-7 วันหลังจากนั้นก็กลับบ้านได้ โดยห้ามก้มหรือทำงานหนักเป็นเวลา 3 เดือน โดยจะทำการนัดคนไข้สังเกตอาการดูแลเป็นระยะ โดยไม่ต้องทำกายภาพ คนไข้สามารถฟื้นตัวเองได้เรื่อยๆ สุดท้ายผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังร้าวลงขา ลุกเดินนานไม่ได้ แนะนำให้รีบเข้าพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาและรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางศัลยกรรมกระดูก

โทรหาเราได้ที่

033-050-600

พร้อมบริการทุกวัน 24 ชม.

หากท่านมีข้อคำถาม หรือต้องการให้คำแนะนำ ติชม

สามารถกรอกแบบฟอร์มเพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่



โรงพยาบาลรวมแพทย์ฉะเชิงเทรา จำกัด

88/122-123 หมู่ 13 ถนนฉะเชิงเทรา-พนมสารคาม ตำบลบางตีนเป็ด

อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา 24000

โทรศัพท์ : 033-050-600 แฟกซ์ : 033-050-690