หน้าแรก / ความรู้สุขภาพ

การบำบัดทดแทนไต

การบำบัดทดแทนไต หมายถึง การรักษาผู้ป่วยที่มีการสูญเสียภาวะการทำงานของไต
จนเกิดอาการจากของเสียที่คั่งในร่างกายซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาก็จะทำให้ระบบต่างๆ ของ
ร่างกายทำงานผิดปกติ สามารถทำให้ผู้ป่วยไม่สบายหรือเสียชีวิตได้

แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด
1. การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis)
คือ การนำเลือดที่มีของเสียอยู่ออกจากตัวผู้ป่วยไปเข้าเครื่องฟอกเลือด
เมื่อเลือดเข้าไปในเครื่อง จะไหลผ่านตัวกรอง (Dialyzer) สารที่เป็นของเสียจะแพร่
ผ่านตัวกรองออกจากเลือดไป เลือดดีที่มีของเสียน้อยก็จะไหลกลับสู่ตัวผู้ป่วย เลือด
ของผู้ป่วยจะวนเข้าเครื่องและกลับเข้าสู่ร่างกายอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งครบเวลาโดย
ประมาณ 4 ชม. ต่อครั้ง โดยทั่วไปจะทำการฟอกเลือด 3 ครั้งต่อสัปดาห์
2. การล้างไตทางช่องท้อง (Chronic Ambulatory Peritoneal Dialysis)
คือ การกำจัดของเสียออกจากร่างกายโดยใช้เยื่อบุผนังช่องท้องของร่าง
กายตามธรรมชาติเป็นตัวกรอง โดยใช้น้ำยาสำหรับล้างทางช่องท้องประมาณ 2 ลิตร
ใส่ผ่านสายทางหน้าท้องที่ถูกวางไว้ก่อน ค้างน้ำยาไว้ในช่องท้อง 4-6 ชม. ต่อรอบ
ของเสียของร่างกายที่อยู่ในกระแสเลือด จะแพร่ผ่านเยื่อบุช่องท้องออกมาอยู่ในน้ำยา
ในช่องท้องออกมาอยู่ในน้ำยาในช่องท้อง เมื่อครบเวลาที่กำหนดก็จะมีการเปลี่ยนถ่าย
น้ำยาที่มีของเสียปนอยู่ออกไป แล้วจึงใส่น้ำยาชุดใหม่เข้าไป ทำเช่นนี้วันละ 4 รอบ
ซึ่งรอบการเปลี่ยนแปลงน้ำยาอาจปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมได้

3. การปลูกถ่ายไต (Kidney Transplantation)
คือ การผ่าตัดเพื่อนำไตจากผู้บริจาคที่เป็นญาติหรือผู้เสียชีวิต มาใส่ให้
ใหม่ในผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้าย วิธีการผ่าตัดจะใช้ไตเพียงข้างเดียวใส่เข้าไปในช่องท้อง
บริเวณท้องน้อยด้านใดด้านหนึ่ง และต่อท่อไตเข้ากับระบบทางเดินปัสสาวะเดิมของผู้ป่วย
ให้ทำงาน ได้เหมือนภาวะปกติ หลังจากการปลูกถ่ายไตผู้ป่วยต้องรับประทานยากด
ภูมิคุ้มกันตลอดชีวิต เพื่อไม่ให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้านไตที่ปลูกถ่าย การรักษาด้วยวิธีนี้ถือ
ว่าเป็นวิธีที่ทำให้คุณภาพชีวิตใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุดเมื่อใดที่จะต้องได้รับการรักษา
ด้วยการบำบัดทดแทนไต
โดยทั่วไปเรามักจะใช้ค่าการตรวจสารครีเอตินินในเลือดเพื่อดูระดับการทำ
งานของไต ถ้ามีค่าสูงจะแสดงถึงการทำงานของไตที่ลดลง มีของเสียคั่งในร่างกายแต่
ไม่มีค่าที่ชัดเจนว่าที่จะต้องทำการบำบัดทดแทนไตเมื่อใด

แต่ถ้ามีภาวะหรืออาการดังต่อไปนี้จะต้องทำการรักษาทันที
1. อาการที่เกิดจากของเสียคั่งในร่างกาย เช่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน
ตะคริว สะอึก ซึม สับสน เป็นต้น
2. ภาวะเลือดเป็นกรณีที่ได้รับการรักษาด้วยยาแล้วไม่เกิดผล
3. ภาวะโปแทสเซียมในเลือดสูงที่ยากต่อการรักษาหรือด้วยการควบคุมการ
รับประทานอาหาร
4. ภาวะบวมที่เกิดจากไตขับน้ำและเกลือในร่างกายไม่ได้ และยากต่อการรักษา
ด้วยยา

โทรหาเราได้ที่

033-050-600

พร้อมบริการทุกวัน 24 ชม.

หากท่านมีข้อคำถาม หรือต้องการให้คำแนะนำ ติชม

สามารถกรอกแบบฟอร์มเพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่



โรงพยาบาลรวมแพทย์ฉะเชิงเทรา จำกัด

88/122-123 หมู่ 13 ถนนฉะเชิงเทรา-พนมสารคาม ตำบลบางตีนเป็ด

อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา 24000

โทรศัพท์ : 033-050-600 แฟกซ์ : 033-050-690