หน้าแรก / ความรู้สุขภาพ

การสลายนิ่ว

นายแพทย์ปิยะพงษ์ วงศ์จิตราภรณ์

แพทย์ศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ

นิ่ว เกิดขึ้นและสร้างมาจากไต ที่กรองของเสียออกมา ถ้าหากของเสียกลุ่มนั้นไม่สมดุลกัน ทำให้เกิดการตกผนึกเป็นนิ่วได้ นิ่วถ้าอยู่ในไตส่วนมากจะไม่มีปัญหา กลิ้งไปมา ไม่มีอาการปวด หากเมื่อไหร่ที่นิ่วลงไปอยู่ที่ท่อไต คนไข้จะรู้สึกปวด และปวดหลังเป็นหลัก ไตบวม อาการหลัก ๆ คือ

1.ปวดท้อง

2.ปวดหลัง ปวดร้าวลงมาที่ขาหนีบ

3.ปัสสาวะขัด

4.ปัสสาวะไม่ออก

5.ปัสสาวะปนเลือด หากคนไข้มีไตข้างเดียว มีสิทธิ์ทำให้ไตวายได้ หากทิ้งนิ่วไว้ ไตข้างนั้นจะเสื่อมลงเรื่อยๆ ภายใน 6 เดือนจะเสื่อมลงเกือบ 50 % เพราะฉะนั้นนิ่วในท่อไตจำเป็นจะต้องรักษา

 การรักษา ถ้าเป็นสมัยก่อน นิ่วอยู่ในท่อไต จำเป็นต้องผ่าท้อง เพื่อที่จะเข้าถึงท่อไต กรีดเปิดท่อไต ขนาดให้เท่ากับปริมาณนิ่ว และทำการหยิบนิ่วออก และเย็บแผล ดังนั้นแผลจึงมีขนาดที่ใหญ่ ปัจจุบันมีการพัฒนาขึ้นมา การรักษาโดยการส่องกล้อง เข้าไปในทางท่อปัสสาวะ เพื่อเข้าถึงท่อไตที่เปิดอยู่ ในกระเพาะปัสสาวะ และใช้กล้องขนาด 2-3 มิลลิเมตร เข้าไปในท่อเพื่อหาตำแหน่งของนิ่ว เทียบกับ CT Scan ที่ได้ทำก่อนหน้า และใช้สายเลเซอร์ใส่เข้าไปในกล้องให้สายเลเซอร์โผล่ออกมาตรงจุดที่พบนิ่ว พร้อมปล่อยพลังงานแสงเลเซอร์ยิงเพื่อที่จะทำลายให้นิ่วแตกละเอียด หากนิ่วเล็กและแตกละเอียดลงแล้ว จะให้คนไข้ขับปัสสาวะออกมาเอง หากในกรณีที่นิ่วมีขนาดใหญ่ ก็จะใช้ตัวคีบ คีบนิ่วออกมาเพื่อไม่ให้อุดตันในภายหลัง หลังจากผ่านิ่วแล้ว จะมีการใส่สายระบายปัสสาวะเพื่อที่จะให้ท่อไตที่ได้รับบาดเจ็บจากการเป็นนิ่ว ไม่มีการตีบในภายหลัง หลังจากนั้นค่อยเอาสายระบายออก ในคนไข้ที่ได้รับการผ่าตัดไปปกติ จะใช้เวลานอนหลังจากการผ่าตัดแล้ว 1 คืน หลังจาก 1 คืนแล้วจะถอดสายระบายให้และกลับบ้านได้เลย ส่วนใหญ่อาการปวดจะหายไปภายใน 24 ชั่วโมง โดยวิธีการนี้จะไม่แผล ทำให้คนไข้สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ เดินได้ แต่งดให้คนไข้ยกของหนัก หรือออกกำลังกายหนักๆ ประมาณ 2 สัปดาห์ การป้องกันนิ่วในคนไข้ทั่วไป นิ่วเกิดจากการไม่สมดุลกันระหว่างสารละลายที่การกรองออกมา ที่พบบ่อยๆคือ นิ่วแคลเซียม นิ่วออกซาเลต นิ่วยูริก นิ่วพวกนี้สามารถป้องกันได้โดยการดื่มน้ำ ให้เกิดการละลายของสารให้มากเพียงพอ ดื่มน้ำให้มีปัสสาวะออกมากกว่าวันละ 2,000 ซีซี หรือวันละ 2 ลิตร (เฉลี่ยดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว) การรับประทานอาหารให้เลือกทานในกลุ่มที่มีแคลเซียมเพียงพอ ความสมดุลระหว่างแคลเซียม ถ้าหากทานอาหารแคลเซียมไม่เพียงพอ ออกซาเลตจะเป็นตัวทำให้มีปัญหาทำให้เกิดนิ่วได้ ทานร่วมกับวิตามินดี ให้ได้แคลเซียมมากกว่าวันละ 1,000 มิลลิกรัม งดปริมาณโซเดียมในร่างกายไม่ให้ทานเกินวันละ 2,300 มิลลิกรัม จำกัดโปรตีนจากสัตว์ เนื้อแดง สัตว์ปีก ไข่ อาหารทะเล เพราะจะเพิ่มกรดยูริก ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดนิ่ว ช็อคโกแลต ผักโขม ชา ถั่ว เป็นอาหารที่มีออกซาเลตมาก เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นหากเป็นนิ่วออกมาแล้ว ถ้านิ่วหล่นลงท่อไตจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด ถ้านิ่วอยู่ในไตขึ้นอยู่กับขนาด ถ้าขนาดไม่เล็กมาก มากกว่า 1 ซม.จะทำการสลายนิ่วโดยที่ใช้คลื่นเสียงกระแทกเข้าไปที่นิ่ว สามารถสลายนิ่วได้โดยที่ไม่มีแผลเช่นกัน

โทรหาเราได้ที่

033-050-600

พร้อมบริการทุกวัน 24 ชม.

หากท่านมีข้อคำถาม หรือต้องการให้คำแนะนำ ติชม

สามารถกรอกแบบฟอร์มเพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่



โรงพยาบาลรวมแพทย์ฉะเชิงเทรา จำกัด

88/122-123 หมู่ 13 ถนนฉะเชิงเทรา-พนมสารคาม ตำบลบางตีนเป็ด

อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา 24000

โทรศัพท์ : 033-050-600 แฟกซ์ : 033-050-690