โดย นายแพทย์ปิยะพงษ์ วงศ์จิตราภรณ์ แพทย์ศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ
โรคถุงน้ำอัณฑะ อัณฑะมีเยื่อหุ้มอยู่ 2 ชั้น และโพรง(ช่องว่าง) ระหว่างเยื่อหุ้มทั้ง 2 ชั้น จะมีของเหลวเพียงเล็กน้อย เพื่อช่วยหล่อลื่น บางรายอาจเกิดมีของเหลวขังอยู่ในโพรงนั้นเป็นจำนวนมาก ทำให้กลายเป็นถังน้ำ เรียกว่า ถุงน้ำที่ถุงอัณฑะ หรือโฮโดรชีล (hydrocele) การรักษาโดยการผ่าตัด แพทย์จะทำการเปิดแผลขนาดเล็กบริเวณถุงอัณฑะ เพื่อระบายน้ำออก และตัดเนื้อเยื่อเกินของถุงอัณฑะออกไปเพื่อไม่ให้กลับมาเป็นใหม่ได้อีก และทำการส่งเนื้อเยื่อส่งแพทย์พยาธิวิทยาตรวจว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ โรคมะเร็งอัณฑะ มะเร็งอัณฑะ หรือมะเร็งลูกอัณฑะ (Testicular cancer) คือ มะเร็งที่เกิดจากเนื้อเยื่อในอัณฑะ เป็นเนื้องอกร้ายที่เกิดจากเซลล์ในอัณฑะกลายเป็นมะเร็ง โดยทั่วไปมักพบเกิดกับอัณฑะด้านเดียว (โอกาสการเกิดทางด้านซ้ายและขวามีเท่ากัน) แต่มีเพียงประมาณ 5% เท่านั้นที่พบเกิดกับอัณฑะทั้ง 2 ข้าง มะเร็งอัณฑะเป็นมะเร็งที่พบได้น้อยเพียง 2% ของมะเร็งทั้งหมด สามารถพบได้ในทุกอายุ ทั้งในเด็กจนถึงในผู้สูงอายุ แต่จะพบได้สูงในช่วงอายุประมาณ 15-35 ปี อาการที่พบเบื้องต้น -คลำได้ก้อนเนื้อแข็งมากในถุงอัณฑะ -อัณฑะโต และส่วนใหญ่จะไม่เจ็บ -ปวดตื้อ หรือ ถ่วงๆ หนัก ที่อัณฑะ -ปวดหน่วงๆที่ท้องน้อยข้างๆหรือขาหนีบ -อัณฑะบวมหรือคล้ายมีน้ำอยู่ในถุงอัณฑะขึ้นมาอย่างฉับพลัน หากมีการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อทำการตรวจรักษา การรักษาโดยการผ่าตัด แพทย์จะทำการเปิดแผลบริเวณขาหนีบ เปิดแผลประมาณ 3 ซ.ม. ลากถุงอัณฑะพร้อมเส้นเลือดดำ เส้นประสาท ที่เข้าไปเลี้ยงตัวอัณฑะ เพื่อที่จะได้เนื้ออกมาเยอะที่สุดและป้องกนมะเร็งแพร่เชื้อออกไป หลังจากนำลูกอัณฑะออกมาแล้ว ส่งแพทย์พยาธิวิทยาวินิจฉัยว่าเป็นเนื้อชนิดใด อยู่ในระยะไหน ต้องรักษาอย่างไร การตรวจคัดกรองมะเร็งอัณฑะปัจจุบันยังไม่มีวิธีที่มีประสิทธิภาพในการตรวจคัดกรองมะเร็งอัณฑะให้พบตั้งแต่ยังไม่มีอาการ แต่วิธีที่ดีที่สุดในขณะนี้คือ การตรวจพบโรคให้เร็วที่สุดโดยการหมั่นสังเกตอาการและคลำด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยให้ค้นพบโรคได้ตั้งแต่ระยะแรก เมื่อพบสิ่งผิดปกติหรือสงสัยว่าผิดปกติหรือมีอาการดังกล่าวควรรีไปพบแพทย์