อาการท้องเสีย
โดย นพ.พงษ์วุฒิ ธนะอนันต์ต์มงคล (หมอแบงก์)
กุมารแพทย์โรงพยาบาลรวมแพทย์ฉะเชิงเทรา
โรคไข้ชัก สาเหตุหลักของการเป็นไข้และชัก
1. การติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลาง เช่น การติดเชื้อในสมองหรือเยื่อหุ้มสมองเป็นต้น
2. เกิดจากการที่อุณหภูมิของร่างการสูงเกิน
3. การที่เด็กมีความผิดปกติอยู่เดิม เช่น อาจมีความผิดปกติของโครงสร้างของสมอง
ในคลิปนี้หมอจะขอเน้นย้ำในหัวข้อที่เป็นไข้ชักทั่วไปที่ไม่ได้เกิดจากระบบประสาท เมื่อลูกเกิดอาการไข้และชัก คุณพ่อคุณแม่ต้องตั้งสติ ถัดมาให้จับเด็กตะแคงหน้าไม่ให้นอนหงาย ถ้านอนหงายจะเป็นการเพิ่มโอกาสอุดกั้นทางเดินหายใจ ไม่เอาวัตถุแปลกปลอมเข้าไปงัดปากเด็ก ต่อมารีบเช็ดตัวให้อุณหภูมิลดลง และให้สังเกตลักษณะของการชักและระยะเวลาของการชัก ลักษณะของการชักจะช่วยวินิจฉัยของโรคเบื้องต้นได้
เด็กที่มีความเสี่ยงต่อไปนี้จะเพิ่มโอกาสภาวะไข้ชักมากกว่าคนทั่วไป
1. บุคคลในครอบครัว พ่อ แม่ มีประวัติเป็นไข้ชักมาก่อน
2. มีความผิดปกติเป็นโรคลมชัก หรือเป็นโรคเกี่ยวกับความผิดปกติทางสมอง
3. มีภาวะขาดธาตุเหล็ก เมื่อมาโรงพยาบาลแล้ว แพทย์จะทำการตรวจว่ามีการติดเชื้อในระบบประสาทหรือเปล่า ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ตรวจเกลือแร่ ว่าผิดปกหรือไม่ การตรวดน้ำไขสันหลัง ในเด็กที่อายุน้อยกว่า 12 เดือน ต้องตรวจทุกราย ในเด็กที่ตรวจร่างการแล้วมีความผิดปกติในระบบประสาท ในเด็กอายุ 12-18 เดือน ไม่จำเป็นต้องตรวจทุกราย แพทย์จะเป็นคนพิจารณารายบุคคล เมื่อเด็กเกิดการชัก จะมีโอกาสชักซ้ำได้ แต่ไม่มีผลกระทบต่อความฉลาด แต่ก็มีบางกรณี เช่นการชักซ้ำหรือชักเป็นเวลานาน อาจส่งผลให้พัฒนาการบางด้านพัฒนาการช้าลงได้ เมื่อลูกมีอาการชักอย่าพึ่งตกใจให้ปฐมพยาบาลเบื้องต้นโดยการเช็ดตัว สามารถทานยาลดไข้ได้ เช่น พาราเซตามอน ไม่แนะนำให้ทานยาลดไข้สูง (กลุ่มยาเอ็นเสด) เมื่อเด็กมีประวัติชัก ไม่ต้องรอสังเกตไข้สามารถเช็ดตัวได้เลย เพื่อลดอาการไข้และป้องกันการชัก