มะเร็งปอด เป็นได้แม้ไม่สูบบุหรี่
ผู้ป่วยหญิงรายหนึ่งอายุ 49 ปี เข้ามาพบแพทย์ด้วยอาการ ไอเป็นเลือด มีเสมหะออกมาเป็นเลือดเก่า บางครั้งมีลิ่มเลือดปน เป็นๆ หายๆ นาน 3 สัปดาห์ รู้สึกอ่อนเพลีย และเหนื่อยมากขึ้น แต่ไม่มีไข้ น้ำหนักไม่ลด ไม่สูบบุหรี่ และไม่เคยสัมผัสกับผู้ป่วยวัณโรค
แพทย์ทำการตรวจร่างกายแล้วผลออกมาปกติ แต่ Chest X-ray ผิดปกติ พบปอดด้านล่างซ้ายแฟบ และได้ทำการ CT-Scan จึงพบก้อนที่ขั้วปอดด้านซ้ายขนาด 4.5 เซนติเมตร กดหลอดลมอยู่ จึงทำให้ปอดด้านล่างซ้ายแฟบ แพทย์จึงได้นำส่งผลชิ้นเนื้อไปตรวจ ผลออกมาว่าเป็นมะเร็งปอด ชนิด Adenocarcinoma มะเร็งชนิดนี้เป็นได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง รวมถึงผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่เลยก็สามารถเป็นได้เช่นกัน
ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งปอด มีอะไรบ้างนะ?
1. การสูบบุหรี่
- การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของมะเร็งปอดร้อยละ 80-90%
- การสูบบุหรี่เพิ่มโอกาสเกิดมะเร็งปอดถึง 8-20 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ไม่สูบบุหรี่
- ผู้หยุดสูบบุหรี่ไปแล้ว 10-20 ปี ความเสี่ยงเป็นมะเร็งปอดมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ถึง 2.5 เท่า
- ผู้ที่อยู่ใกล้เคียงผู้สูบบุหรี่และได้รับควันบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปอด
2. สัมผัสสารก่อมะเร็งจากการทำงาน โดยการผลิตและการรื้อวัสดุแร่ใยหิน
- กระเบื้องซีเมนต์มุงหลังคา
- กระเบื้องยางปูพื้น แผ่นยางไวนิลปูพื้น
- ท่อน้ำซิเมนต์
- ผ้าเบรคและคลัช
- ฉนวนไฟฟ้า ฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันไฟ
3. มลพิษทางอากาศ ฝุ่น PM 2.5
- ไอเสียจากรถยนต์หรือการจราจร
- อากาศพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมและโรงไฟฟ้า
- การเผาในที่โล่งและในที่ไม่โล่ง
- กิจกรรมในครัวเรือนที่ทำให้เกิดมลพิษในอากาศ เช่น การจุดธูปเทียน การหุงต้มด้วยถ่านไม้หรือฟืน
รู้หรือไม่ ?
- ค่าฝุ่นละอองPM2.5เฉลี่ย24ชั่วโมง ทุกๆ 22 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร เทียบเท่ากับ การสูบบุหรี่ 1 มวน/วัน
- ค่าเฉลี่ยฝุ่นละออง PM2.5เฉลี่ย24ชั่วโมง เกินค่ามาตรฐาน 5 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร
ข้อมูล 1 พ.ย. 65- 30 ม.ค. 66 (Air4Thai)
- อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา = 22.19 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร สูบบุหรี่ 1 มวน/วัน)
- อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี = 25.31 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร สูบบุหรี่ 1.1 มวน/วัน)
- อ.บางเสาธง สมุทรปราการ = 27.64 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร สูบบุหรี่ 1.3 มวน/วัน)
- เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ = 36.54 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร สูบบุหรี่ 1.7 มวน/วัน)
สำหรับประชาชนทั่วไป
แพทย์แนะนำหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่อโรคที่กล่าวไปข้างต้น ร่วมกับการตรวจสุขภาพประจำปีและตรวจคัดกรองโรคปอดด้วยเอกซเรย์ทรวงอก (Chest X-ray)
สำหรับผู้ป่วยที่สูบบุหรี่จัดเป็นระยะเวลานาน
เช่น สูบบุหรี่มากกว่าวันละ 1 ซอง/วัน ติดต่อกัน 20 ปีขึ้นไป (20 pack-year)และยังคงสูบบุหรี่อยู่หรือหยุดสูบบุหรี่มาไม่เกิน 15 ปี
แพทย์แนะนำการตรวจคัดกรอง “Low-dose Chest CT Scan” เพื่อคัดกรองมะเร็งปอดระยะเริ่มต้นซึ่งช่วยลดอัตราตายจากมะเร็งปอดได้ 15-20% เมื่อเที่ยบกับการตรวจคัดกรองด้วยเอกซเรย์ทรวงอก (Chest X-ray) ในกลุ่มเสี่ยง
หากท่านมีอาการผิดปกติ ดังต่อไปนี้
- ไอเรื้อรังนานเกิน8สัปดาห์ ไอเป็นเลือด
- หายใจเหนื่อย หายใจได้สั้น หายใจถี่และตื้น
- เจ็บหน้าอกเรื้อรัง
- น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ
- เสียงแหบ
แพทย์แนะนำให้เข้ามาตรวจร่างกายและประเมินความเสี่ยงโรคมะเร็งปอดกับทีมแพทย์เฉพาะทาง มะเร็งปอดรู้เร็ว รักษาได้ค่ะ
หากท่านใดสนใจตรวจ สามารถเข้ามารับบริการที่โรงพยาบาลรวมแพทย์ฉะเชิงเทราได้เลยนะคะ
“มะเร็งนั้นน่ากลัว ตรวจก่อน อย่ารอให้ป่วย ด้วยความห่วงใยจากแพทย์เฉพาะทางโรงพยาบาลรวมแพทย์ฉะเชิงเทรา”
References เรื่องมะเร็งปอด
- http://tcb.nci.go.th/CWEB/cwebBase.do...
- แนวทางการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งปอด(ปรับปรุงครั้งที่2) สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
- https://www.cdc.gov/cancer/lung/basic_info/
References เรื่องPM2.5
- http://air4thai.pcd.go.th/webV3/#/History
- http://berkeleyearth.org/air-pollution-and-cigarette...
- เรียนรู้ อยู่กับฝุ่น PM 2.5
- Lung Cancer Death Attributable to Long-Term Ambient Particulate Matter (PM2.5) Exposure in East Asian Countries During 1990-2019
- https://www.esmo.org/.../esmo-calls-on-eu-member-states...
Reference เรื่องแร่ใยหิน
- มาตรการควบคุมและขั้นตอนการรื้อถอนซ่อมแซมอาการที่มีแร่ใยหิน