นิ่วในไต (Kidney Stones) คือโรคที่เกิดจากแร่ธาตุแข็งชนิดต่าง ๆ ที่รวมตัวกันเป็นก้อน ก้อนนิ่วมีชนิดและขนาดที่แตกต่างกันไป
โดยมักเกิดขึ้นบริเวณไต หากก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่จนไปปิดกั้นและสร้างแผลบาดเจ็บที่ท่อไต และอาจส่งผลให้ปัสสาวะออกมาเป็นเลือด
และอาจสร้างความเจ็บปวดทรมานให้ผู้ป่วยได้อย่างมาก
อาการของนิ่วในไต
ก้อนนิ่วที่มีขนาดเล็กมาก ๆ อาจหลุดออกไปพร้อมกับการขับปัสสาวะโดยไม่ก่อให้เกิดอาการหรือความรู้สึกเจ็บปวดใด ๆ
อาการของนิ่วในไตอาจไม่ปรากฏให้เห็นจนกระทั่งก้อนนิ่วเริ่มเคลื่อนตัวรอบ ๆ ไตหรือไปยังท่อไต ซึ่งเป็นท่อเชื่อมต่อระหว่างไตและกระเพาะปัสสาวะ
ผู้ป่วยจะเกิดอาการ ปวดบริเวณหลังหรือช่องท้องด้านล่างข้างใดข้างหนึ่ง อาจปวดร้าวลงไปถึงบริเวณขาหนีบ
มีอาการปวดบีบเป็นระยะ และปวดรุนแรงเป็นช่วง ๆ ที่บริเวณดังกล่าว
ปัสสาวะเป็นเลือด หรืออาจมีสีแดง ชมพู และน้ำตาล
ปัสสาวะแล้วเจ็บ
ปวดปัสสาวะบ่อย
ปัสสาวะน้อย
ปัสสาวะขุ่นหรือมีกลิ่นแรง
คลื่นไส้ อาเจียน
หนาวสั่น เป็นไข้
สาเหตุของนิ่วในไต
นิ่วในไตอาจเกิดขึ้นได้จากปริมาณของเกลือ แร่ธาตุ และสสารต่าง ๆ เช่น แคลเซียม กรดออกซาลิก และกรดยูริกในปัสสาวะที่เปลี่ยนแปลงไป
โดยมีปริมาณมากเกินกว่าของเหลวในปัสสาวะจะละลายหรือทำให้เข้มข้นน้อยลงได้ จนเกิดการเกาะตัวเป็นก้อนนิ่ว
การป้องกันนิ่วในไต
นิ่วในไตป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาพของตัวเอง โดยวิธีที่ดีที่สุดและทำได้ง่าย ๆ
คือ การดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวันเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ และเป็นการลดความเข้มข้นของปัสสาวะซึ่งเสี่ยงต่อการพัฒนาไปเป็นนิ่วในไต
ทั้งนี้ น้ำผลไม้ ชา และกาแฟเองก็ดื่มทดแทนน้ำได้ แต่การดื่มน้ำก็ยังคงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในการป้องกันนิ่วในไต
การเกิด "นิ่วในท่อไต" อาการ การรักษาโดยการส่องกล้อง ยิงนิ่วด้วยเลเซอร์ และ การป้องกันการเกิดนิ่ว
โดยนายแพทย์ปิยะพงษ์ วงศ์จิตรากรณ์ (หมอป๊อป) ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ
หากมีอาการเหมือนหรือคล้ายกับในคลิปควรรีบมาเช็คด่วนนะคะ
ด้วยความห่วงใย