เครื่องตรวจวิเคราะห์ทางรังสี เพื่อคัดกรองความเสี่ยงต่อภาวะ "โรคกระดูกพรุน"
โรคกระดูกพรุน เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่พบเป็นอันดับที่ 2 รองจากโรคหัวใจและหลอดเลือด เรียกได้ว่าเป็นภัยเงียบ เนื่องจากเราจะไม่รู้ตัวว่าเรามีภาวะกระดูกพรุน เพราะว่าไม่มีอาการ จะทราบก็ต่อเมื่อล้ม หรือกระแทก แล้วกระดูกหักได้ง่ายๆ
การตรวจวัดมวลกระดูกจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ทราบว่ากระดูกของเราแข็งแรงมากน้อยแค่ไหน ตัวเครื่องจะสามารถวิเคราะห์ เกิดภาวะกระดูกพรุนหรือความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุน เพื่อนำข้อมูลให้แพทย์นำมาวางแผนดูแลรักษากระดูกให้แข็งแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตรวจวัดมวลกระดูกด้วยเครื่อง Dual-energy X-ray absorptionmetry (DXA) ดีอย่างไร??
- เป็นเครื่องมือมาตรฐานในการตรวจวัดมวลกระดูก
- ใช้วินิจฉัยและประเมินอาการโรคกระดูกพรุนได้
- ใช้ตรวจเพื่อติดตามอาการของผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนได้
- ค่าใช้จ่ายน้อย แต่มีความแม่นยำสูง
- ได้รับรังสีน้อยกว่าการตรวจโดยใช้เครื่อง X-ray และ CT-scan
- สามารถตรวจมวลไขมันและมวลกล้ามเนื้อร่วมด้วยได้
- สามารถนำผลตรวจมาปรับพฤติกรรมด้านกีฬาและโภชนาการได้
- สามารถนำผลมาวางแผนแนวทางการรักษาของผู้ป่วยได้อย่างตรงจุด
ปัจจัยเสี่ยงกระดูกพรุน ได้แก่ เพศ ผู้หญิงเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่าและเร็วกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะหญิงหมดประจำเดือนหรือวัยทอง การสลายกระดูกจะเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากขาดฮอร์โมนเพศ , อายุ มวลกระดูกของคนเราหนาแน่นที่สุดเมื่ออายุประมาณ 30 ปี หลังจากนั้นจะค่อย ๆ ลดลง , กรรมพันธุ์ , ยา การได้รับยาบางชนิดเป็นเวลานานทำให้มวลกระดูกบางลง เช่น ยาสเตียรอยด์ , การขาดสารอาหาร เช่น แคลเซียม , ผู้ที่สูบบุหรี่ ดื่มเหล้าจัด วัยรุ่นอย่างคึกวัยดึก(กระดูก)อย่างพรุน เป็นต้น
ภาวะกระดูกพรุนสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศ ในผู้ที่อายุ 50 ปีขึ้นไป และผู้หญิงในรายที่ประจำเดือนหมดก่อนวัย 45 ปี ไม่ว่าจะโดยธรรมชาติหรือจากการรักษาโรคอื่นๆ แนะนำให้มาตรวจโดยด่วนเลยค่ะ อยากลดความเสี่ยง ก็ต้องใส่ใจสุขภาพนะคะ