หน้าแรก / ความรู้สุขภาพ

โรคหลอดเลือดสมอง

1. โรคหลอดเลือดสมองตีบหรือตัน (Ischemic stroke) พบประมาณร้อยละ 70-75 ของโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด ทำให้เซลล์สมองและเซลล์เนื้อ
เยื่ออื่นๆขาดเลือดอย่างเฉียบพลัน ซึ่งอาจเกิดจากภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ผนังหลอดเลือด เช่น ไขมันและเกล็ดเลือดมาเกาะที่ผนังหลอดเลือด หรือมีการสร้างชั้น
ของผนังเซลล์หลอดเลือดที่ผิดปกติ ทำให้ผนังหลอดเลือด นอกจากนี้ อาจจะเกิดจากลิ่มเลือดที่มาจากที่อื่นๆ เช่น ลิ่มเลือดจากหัวใจ หรือจากหลอดเลือดแดง
Carotid ที่คอหลุดลอยมาอุดตันหลอดเลือดในสมองสาเหตุหลักเกิดจากไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจขาดเลือดและเส้นเลือด carotid ตีบ หรือตัน
2. โรคหลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic stroke) พบน้อยกว่าโรคหลอดเลือดสมองตีบ แต่มีความรุนแรงมากกว่า พบโรคหลอดเลือดสมอง
แตกประมาณร้อยละ 25-30 โดยแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
(1.) เลือดออกในเนื้อสมอง (Intracerebral hemorrhage) ซึ่งจะพบลักษณะของลิ่มเลือดในเนื้อสมอง
(2.) เลือดออกใต้ชั้นเยื่อหุ้มสมอง (Subarachnoid hemorrhage) ผู้ป่วยจะมีเนื้อสมองบวมขึ้น และกดเบียดเนื้อสมองส่วนอื่นๆ และทำให้การทำงานของสมองที่บวมขึ้น

และกดเบียดเนื้อสมองส่วนอื่นๆ และทำให้การทำงานของสมองที่ถูกเบียดเสียไป สาเหตุหลักเกิดจากโรคความดันโลหิตสูง และหลอดเลือดโป่งพอง
ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถป้องกันได้
1. ภาวะความดันโลหิตสูง
2. โรคหัวใจ ผู้ที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ผู้ที่มีหัวใจเต้นผิดจังหวะและผู้ที่มีการหนาตัวของผนังหัวใจห้องล่างซ้าย
3. การสูบบุหรี่ ในผู้ที่สูบบุหรี่จัดมากกว่า 40 มวนต่อวัน มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง สูงถึง 2 เท่าของผู้ที่สูบบุหรี่น้อยกว่า 10 มวนต่อวัน และสูงกว่าคนไม่สูบบุหรี่
4. การดื่มสุรา ผู้ที่ดื่มสุรา ผู้ที่ดื่มปากลางจนถึงดื่มจัด จะมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าคนปกติ
5. เบาหวาน
6. ไขมันในเลือดสูง
7. ภาวะหลอดเลือดคาโรติดตีบ(บริเวณคอ) โดยไม่มีอาการ (Asymptomatic carotid artery stenosis)

 ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถป้องกันได้
1. อายุ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี มีอัตราเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
2. เพศ พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง แต่เมื่อเข้าสู่วัยทองโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้หญิงจะเพิ่มขึ้น
3. เชื้อชาติ เช่น คนผิวดำมีอัตราการเกิดและการเสียชีวิจากโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าคนผิวขาว ในขณะที่ชาวเอเชีย พบการตีบตันที่หลอดเลือดสมองบ่อยกว่า
4. พันธุกรรม ในผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดสมอง

แนวทางในการป้องกันและควบคุมโรคหลอดเลือดสมอง
1. เรียนรู้สัญญาณเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์ อัมพาต) อาจพบเพียง 1 อาการหรือมากกว่า 1 อาการ ดังนี้
(1.) ใบหน้าอ่อนแรง หรือหน้าเบี้ยว
(2.) สับสน พูดลำบาก พูดไม่ชัด
(3.) ตาข้างใดข้างหนึ่งมัวหรือมองไม่เห็น
(4.) มีอาการมึนงง เดินเซ เสียศูนย์ หรือใช้ ตัวย่อช่วยจำ “F.A.S.T.” มาจาก
F Face เวลายิ้มพบว่ามุมปากข้างหนึ่งตก
A Arm ยกแขนไม่ขึ้น 1 ข้าง
S Speech พูดไม่ชัด พูดลำบาก พูดไม่ได้
T Time ผู้มีอาการดังกล่าวต้องรีบไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดหรือภายใน 3 ชม.เพราะการรักษาที่ทันท่วงทีจะช่วยลดความเสี่ยงของความพิการที่อาจจะเกิดขึ้นและรักษาชีวิตของผู้ป่วยไว้ได้
2. ทราบและจำค่าความดันโลหิต (BP<120/80 มม.ปรอท) ระดับน้ำตาลในเลือด (FPG3. การเลือกบริโภคอาหารให้ครบ 5 หมู่ เลี่ยงอาหารประเภทหวาน มัน เค็มและควรเพิ่มผลไม้ในมื้ออาหาร
4. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
5. ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ
6. งด / ลด การสูบบุหรี่และเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
7. ตรวจสุขภาพประจำปี

 >>>โปรแกรมตรวจคัดกรองโรคหัวใจกดที่นี่<<<

โทรหาเราได้ที่

033-050-600

พร้อมบริการทุกวัน 24 ชม.

หากท่านมีข้อคำถาม หรือต้องการให้คำแนะนำ ติชม

สามารถกรอกแบบฟอร์มเพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่



โรงพยาบาลรวมแพทย์ฉะเชิงเทรา จำกัด

88/122-123 หมู่ 13 ถนนฉะเชิงเทรา-พนมสารคาม ตำบลบางตีนเป็ด

อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา 24000

โทรศัพท์ : 033-050-600 แฟกซ์ : 033-050-690