Home / Knowledge of Health

ไขมันในเลือดสูง บริจาคเลือดได้มั้ย

ไขมันในเลือดมีกี่ประเภท
โคเลสเตอรอล ร่างกายสามารถสร้างขึ้นเอง อีกส่วนหนึ่งได้รับจาก
อาหาร แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่
1. โคเลสเตอรอลชนิดอันตราย (แอลดีแอล โคเลสเตอรอล : LDL)
ถ้ามีในระดับสูงเกินไปจะทำให้เกิดการสะสมที่เยื่อบุด้านในของหลอดเลือดแดงทำให้
เกิดภาวะเลือดแข็ง ตีบ หรืออุดตัน
2. โคเลสเตอรอลชนิดดี (เอชดีแอล โคเลสเตอรอล : HDL) เป็น
ชนิดที่มีประโยชน์ ทำหน้าที่นำโคลเลสเตอรอลที่เหลือไปทำลายที่ตับผู้ที่มี โคเลสเตอ-
รอล ชนิดนี้สูงจะช่วยป้องกันการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ไตรกลีเซอร์ไรด์
เป็นไขมันที่ได้รับจากอาหารประเภท แป้ง น้ำตาล ถ้ามีระดับสูงมากจะทำให้หลอดเลือด
อุดตันได้
สาเหตุหลักของไขมันในเลือดสูง
- พันธุกรรม เกิดจากความผิดปกติของการเผาผลาญไขมันและคาร์โบไฮเดรต
ในร่างกาย
- การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเป็นประจำ เช่น อาหารทอด หมูสามชั้น ข้าวมันไก่
เป็นต้น
- น้ำหนักมากเกินมาตรฐาน การไม่ควบคุมอาหาร ขาดการออกกำลังกาย
- โรคเบาหวาน ภาวะหรือโรคขาดไทรรอยด์ฮอร์โมน โรคตับ
- ยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิด เตียรอยด์ เป็นต้น
- ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นประจำ

วิธีปฏิบัติเพื่อป้องกันไขมันในเลือดสูง
1. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ลดปริมาณอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต
เช่น แป้ง และน้ำตาล
2. ออกกำลังกายต่อเนื่องครั้งละอย่างน้อย 30 นาที อย่างน้อย สัปดาห์ละ
3 ครั้ง เช่น การเดินเร็ว จ๊อกกิ้ง เต้นรำ ขี่จักรยาน เพื่อเพิ่มสมรรถภาพปอดและหัวใจ
หากอายุเกิน 40 ปีหรือมีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์
3. ควบคุมการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เช่น เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ติดมัน
สมองสัตว์ อาหารทะเลจำพวก กุ้ง, ปลาหมึก เป็นต้น
4. หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมัน อาหารทอด อาหารเจียวควรใช้น้ำมันพืช
แทนน้ำมันจากสัตว์ หากเป็นน้ำมันพืชที่สกัดจากเมล็ดพืชจะมีกรดไลโนอิกที่มีตัวนำโคเลส-
เตอรอลไผเผาผลาญสูงกว่าน้ำมันที่สกัดจากเนื้อพืช
5. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอร์ ขนมหวาน แป้ง ข้าวต่างๆ
6. รับประทานอาหารพวกผัก และผลไม้ที่มีกากใยสูง เช่น คะน้า ผักกาด ฝรั่ง
ส้ม เม็ดแมงลัก จะช่วยการดูดซึมของไขมันเข้าสู่ร่างกาย
7. เปลี่ยนวิธีการปรุงอาหารเป็นการต้ม ตุ๋น นึ่ง แทนการทอดหรือผัด
8. หากต้องการดื่มนมควรดื่มนมไขมันต่ำ เช่น พร่องมันเนย

ไขมันในเลือดสูง บริจาคโลหิตได้หรือไม่
ถ้าผู้บริจาคโลหิต มีภาวะไขมันในเลือดสูง หากรับประทานยาลดไขมันและ
ควบคุมอาหาร จนระดับไขมันในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ *** สามารถบริจาคได้
ก่อนบริจาคโลหิต ควรงดรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การรับประทานอาหารที่มี
ไขมันสูง เช่น ข้าวมันไก่ ข้าวขาหมู หมูสามชั้น ของทอด เครื่องในสัตว์และอาหารที่
มีส่วนประกอบของกะทิ เมื่อนำโลหิตที่ได้รับบริจาคไปปั่นแยกส่วนประกอบโลหิต ได้แก่
เม็ดเลือดแดง เกล็ดเลือด และพลาสมา พบว่าส่วนที่เป็นพลาสมา มีลักษณะขาวขุ่น
ไม่สามารถนำไปใช้กับผู้ป่วยได้ ดังนั้น ผู้บริจาคโลหิตควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน
อาหารที่มีไขมันสูงภายใน 6 ชั่วโมง ก่อนมาบริจาคโลหิต
ข้อแนะนำการปฏิบัติตัวสำหรับผู้บริจาคโลหิตที่มีไขมันสูง
ผู้บริจาคโลหิตต้องลดอาหารประเภทไขมันจากสัตว์ อาหารที่มีส่วน
ประกอบของกะทิ ของหวาน ของทอด เป็นต้น ควบคู่กับการออกกำลังกายอย่าง
สม่ำเสมอ

>>>โปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปีกดที่นี่<<<

โทรหาเราได้ที่

033-050-600

พร้อมบริการทุกวัน 24 ชม.

หากท่านมีข้อคำถาม หรือต้องการให้คำแนะนำ ติชม

สามารถกรอกแบบฟอร์มเพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่



โรงพยาบาลรวมแพทย์ฉะเชิงเทรา จำกัด

88/122-123 หมู่ 13 ถนนฉะเชิงเทรา-พนมสารคาม ตำบลบางตีนเป็ด

อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา 24000

โทรศัพท์ : 033-050-600 แฟกซ์ : 033-050-690