Home / Knowledge of Health

ทำไม RSV ถึงน่ากลัว

ภาวะแทรกซ้อนหลังการติดเชื้อ RSVมีหลายชนิดและหลายระดับความรุนแรง ดังนี้
- หูชั้นกลางติดเชื้อหรือเป็นหนอง เนื่องจากเชื้ออาจกระจายไปสู่ช่องหูชั้นกลางที่อยู่ใกล้ผนังช่องคอด้านหลัง
- หลอดลมอักเสบ จากการไอเพราะเสมหะที่มากขึ้น บางรายอาจไอจนอาเจียนหรือนอนไม่ได้ในตอนกลางคืนไอจนอาเจียน เรียกภาวะนี้ว่าหลอดลมอักเส
- หลอดลมฝอยอักเสบ/ปอดติดเชื้อ เกิดตามหลังหลอดลมอักเสบ เนื่องจากเชื้อกระจายตัวลงไปสู่หลอดลมฝอยและถุงลมปอด ก่อให้เกิดการอักเสบตามลำดับ
- เริ่มมีอาการหอบเหนื่อย หากพบเสียง wheeze (วี้ซ) จากหลอดลมที่แคบลง จะรุนแรงมากระดับออกซิเจนในเลือดอาจต่ำ จนต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
- ภาวะหลอดลมไวและหอบหืด มีหลายการศึกษาพบว่า เด็กที่เคยเป็นโรคปอดติดเชื้อจาก RSV หลายครั้ง จะเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคหอบหืดเมื่อโตขึ้น ซึ่งโรคนี้คนไข้จะไอ และมีอาการหอบเหนื่อย เนื่องจากหลอดลมที่ตีบแคบจากสิ่งกระตุ้นเช่น อากาศเย็น ฝุ่นละออง การวิ่งเล่นหายใจเร็ว หรือแม้กระทั่งการไอ (ไม่ว่าไอจากฝุ่นหรือจากการติดเชื้อก็ตาม) ที่สำคัญการติดเชื้อไข้หวัด หลอดลมอักเสบ และปอดติดเชื้อนั้น สามารถกระตุ้นให้หอบหืดกำเริบร่วมด้วยได้

ด้วยอาการเหล่านี้ ทำให้ผู้ป่วย โดยเฉพาะเด็กๆ จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาลเป็นเวลานานกว่าจะฟื้นตัวเป็นปกติได้ กว่าจะมั่นใจว่าเด็กๆ นั้นไม่มีอาการแทรกซ้อน ก็หมดค่ารักษาจำนวนมาก เพราะในรายที่อาการหนักบางรายค่าใช้จ่ายในการนอนโรงพยาบาลก็เกือบแสน!!!

แต่รู้หรือไม่ RSV อาจมีโรคอื่นหลังจากรักษาหายแล้วตามมา จนกลายเป็นโรคเรื้อรัง หรือโรคประจำตัวได้

RSV ไม่ได้กระทบแต่ร่างกาย สุขภาพของเด็กๆ หลังจากหมดค่าใช้จ่ายไปกับโรค RSV ที่แสนแพง เนื่องจาก RSV หากผู้ปกครองเริ่มมองหาประกันสุขภาพให้ลูกซักฉบับก็เริ่มเป็นเรื่องยาก เพราะ RSV อาจก่อให้เกิดโรคเรื้อรัง ที่ใช้เวลารักษานานอีกหลายปี หรืออาจเกิดเป็นโรคประจำตัวอย่างหอบหืด เป็นต้น จึงทำให้บริษัทประกันปฏิเสธในการพิจารณาอนุมัติการทำประกันสุขภาพให้กับเด็กที่ป่วยเป็นโรค RSV ก่อนทำประกันได้ค่ะ

#เราพร้อมดูแลเด็กโดยกุมารแพทย์ตลอด24ชั่วโมง 

 

โทรหาเราได้ที่

033-050-600

พร้อมบริการทุกวัน 24 ชม.

หากท่านมีข้อคำถาม หรือต้องการให้คำแนะนำ ติชม

สามารถกรอกแบบฟอร์มเพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่



โรงพยาบาลรวมแพทย์ฉะเชิงเทรา จำกัด

88/122-123 หมู่ 13 ถนนฉะเชิงเทรา-พนมสารคาม ตำบลบางตีนเป็ด

อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา 24000

โทรศัพท์ : 033-050-600 แฟกซ์ : 033-050-690