Home / Knowledge of Health

โรคกระเพาะอาหาร

โรคกระเพาะอาหารหรือแผลในกระเพาะอาหาร
หมายถึง แผลที่เกิดขึ้นในเยื่อบุทางเดินอาหารเฉพาะส่วนที่สัมผัสกับน้ำย่อย
ของกระเพาะอาหารที่มีกรดเป็นองค์ประกอบสำคัญ

สาเหตุ
เกิดจากปัจจัยหลายอย่างที่กระตุ้นให้มีการหลั่งกรดหรือน้ำย่อยมากขึ้นในกระเพาะอาหารร่วมกับ
เยื่อบุอาหารมีความสามารถด้านทานกรดได้ลดลงหรือมีการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงเยื่อบุ
ลำไส้ได้ลดลง ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ง่ายขึ้น
ปัจจัยส่งเสริม
เกิดจากปัจจัยหลายอย่างที่กระตุ้นให้มีการหลั่งกรดหรือน้ำย่อยมากขึ้นในกระเพาะอาหารร่วมกับ
เยื่อบุอาหารมีความสามารถด้านทานกรดได้ลดลงหรือมีการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงเยื่อบุ
ลำไส้ได้ลดลง ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้งายขึ้น
1. ยา ยาลดไข้และยาแก้ปวดส่วนใหญ่ เช่น ยาแอสไพริน ยาทัมใจ ยาลดการอักเสบ
(NSAIDs) ยารักษาโรคกระดูก และข้ออักเสบ (ยกเว้นยาพาราเซตามอล) จะมีฤทธิ์ทำให้
ความต้านทานของเยื่อกระเพาะอาหารและลำไส้ลดลง
2. การสูบบุหรี่ สารนิโคตินจากบุหรี่จะทำให้เส้นเลือดหดรัดตัว การไหลเวียนของเลือดไป
เลี้ยงเยื่อบุกระเพาะอาหารน้อยลง ทำให้แผลในกระเพาะอาหารหายช้าได้
3. ความเครียดจะไปกระตุ้นระบบประสาทโดยอัตโนมัติทำให้มีการหลั่งกรดหรือน้ำย่อยมากขึ้น
4. การกินอาหารที่มีรสเผ็ดจัดจะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้
โดยตรงในขณะที่อาหารหมักดอง ชา กาแฟ จะกระตุ้นให้มีการหลั่งกรดหรือน้ำย่อยมากขึ้น
5. เชื้อโรค เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลโร เป็นแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในกระเพาะอาหารหรือ
ทำให้แผลที่เกิดแล้วหายช้าเกิดเป็นแผลซ้ำบ่อยและเขื่อว่าอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรค
มะเร็งกระเพาะอาหารตามมาได้

อาการ
1. ปวดแสบหรือจุกแน่นท้องบริเวณลิ้นปี่ (เหนือสะดือ) เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด
มักเป็นเวลาท้องว่างหรือเวลาหิว จะบรรเทาได้ด้วยอาหาร หรือ ยาลดกรด ผู้ป่วยบางราย
อาจมีอาการปวดมากหลังรับประทานอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัดหรือดื่มน้ำอัดลม เป็นต้น
2. อาการปวดมักเป็น ๆ หาย ๆ มานานปี
3. ปวดแน่นท้องกลางดึก หลังจากหลับไปแล้ว
4. ปวดแน่น ท้องอืด มีลมมากในท้อง อาจมีคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย โดยเฉพาะ
หลังมื้ออาหารถ่ายอุจจาระดำ หรืออาเจียนเป็นเลือด
การวินิจฉัย
1. การซักประวัติ ผลการตรวจร่างกาย
2. การถ่ายภาพรังสีหลังจากผู้ป่วยกลืนแป้งแบเรี่ยม
3. การส่องกล้อง เข้าไปดูภายในระบบทางเดินอาหารส่วนบน ซึ่งวิธีนี้จะช่วยในการ
วินิจฉัยเชื้อโรค เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโรได้
การรักษา
การรับประทานยาลดกรด ร่วมกับปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร

การปฏิบัติตัว
1. รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างต่อเนื่องนานประมาณ 6-8 สัปดาห์และปฏิบัติตัว
อย่างถูกต้องเหมาะสมเพื่อให้แผลหายขาด
- กรณีเกิดแผลร่วมกับการติดเชื้อเฮลิโดแบคเตอร์โพโลโร แพทย์จะสั่งยาฆ่าเชื้อโรคนี้ร่วมด้วย
2. ควรรับประทานอาหารให้ตรงเวลา 3 มื้อ เคี้ยวอาหารให้ละเอียด หลีกเลี่ยงอาหาร
เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด รวมทั้งอาหารที่รับประทานแล้วทำให้มีอาการกำเริบ
3. หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา เบียร์ ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง น้ำอัดลมและบุหรี่
4. หลีกเลี่ยงการรับประทานยาชุด ยาแก้ปวด เช่น ยาแอสไพริน ยาแก้ปวดข้อชนิด
NSAIDs ถ้ามีอาการปวด ยาที่ปลอดภัยสามารถรับประทานได้ คือ ยาพาราเซตามอล
พยายามทำจิตใจให้สบายหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดความตึงเครียดต่างๆและรู้จักวิธีผ่อนคลาย
อาการผิดปกติที่ควรรีบมาพบแพทย์
1. อาการตกเลือดในกระเพาะอาหารพบได้บ่อยที่สุด ผู้ป่วยจะอาเจียนเป็นเลือดถ่าย
เหลว ถ้าเสียเลือดมากจะทำให้มีอาการหน้ามืด วิงเวียน เป็นลม
2. กระเพาะอาหารทะลุ ในรายที่มีแผลเรื้อรัง อยู่นานโดยไม่ได้รับการรักษา แผลอาจลึก
มากขึ้นจนทะลุได้ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องส่วนบนเฉียบพลันรุนแรง หน้าท้องแข็งตึงกดเจ็บมาก
3. กระเพาะอาหารอุดตัน ในรายที่เป็นแผลเรื้อรัง เป็นๆหายๆ จะเกิดผังผืดหดรัดตัว
ทำให้ช่องผ่านของอาหารแคบลง ผู้ป่วยจะกินได้น้อย อิ่มเร็ว มีอาเจียนหลังอาหารเกือบ
ทุกมื้อ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด

 >>>แพคเกจส่องกล้องทางเดินอาหารกดที่นี่<<<

โทรหาเราได้ที่

033-050-600

พร้อมบริการทุกวัน 24 ชม.

หากท่านมีข้อคำถาม หรือต้องการให้คำแนะนำ ติชม

สามารถกรอกแบบฟอร์มเพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่



โรงพยาบาลรวมแพทย์ฉะเชิงเทรา จำกัด

88/122-123 หมู่ 13 ถนนฉะเชิงเทรา-พนมสารคาม ตำบลบางตีนเป็ด

อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา 24000

โทรศัพท์ : 033-050-600 แฟกซ์ : 033-050-690