การผ่าตัดกระดูกสันหลังยุบตัวจากอุบัติเหตุตกจากที่สูง โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยกรรมกระดูกและข้อ อนุสาขากระดูกสันหลัง นพ.ณพวีร์ ประจวบจินดา มาเล่าถึงประสบการณ์การรักษา “การผ่าตัดกระดูกสันหลังยุบตัว” จากอุบัติเหตุตกจากที่สูงของคนไข้ทั้ง 2 เคส โดยใช้เทคนิคในการผ่าตัดที่แตกต่างกัน เพื่อให้การรักษาเป็นไปตามความเหมาะสมกับระดับอาการของคนไข้และการวินิจฉัยของแพทย์ ที่จะช่วยทำให้การผ่าตัดมีความแม่นยำ ปลอดภัย ช่วยลดความเสี่ยง และทำให้คนไข้ฟื้นตัวได้เร็ว
การผ่าตัดกระดูกสันหลังยุบตัว จากอุบัติเหตุตกจากที่สูงทั้ง 2 เคส ที่ใช้เทคนิคในการผ่าตัดแตกต่างกัน
#เคสแรก คนไข้ตกหลังคามา แพทย์จึงทำการตรวจ MRI พบว่ามีชิ้นส่วนของกระดูกสันหลังยุบตัวไปกดทับเส้นประสาทมากถึง 67% จึงต้องทำการผ่าตัดแบบเปิดแผลเพื่อนำชิ้นกระดูกที่กดทับเส้นประสาทกลับเข้าที่ ในการผ่าตัดแพทย์จะผ่าเปิดปกติ และใส่เหล็กดามที่กระดูกสันหลัง แต่จะมีการใช้แว่นขยายเพื่อขยายให้เห็นเส้นประสาทของคนไข้ได้ชัดขึ้น ทำให้การผ่าตัดมีความปลอดภัย
#เคสที่สอง คนไข้ตกต้นไม้มา แพทย์จึงทำการตรวจ MRI พบว่ามีชิ้นส่วนของกระดูกสันหลังยุบตัวไปกดทับเส้นประสาทไม่เยอะ แพทย์จึงรักษาโดยใช้เทคนิคการผ่าตัดแบบแผลเล็กได้ ในการผ่าตัดแพทย์จะเปิดแผลเพียง 1-2 เซนติเมตร เท่านั้น และใช้เหล็กนำวิถีใส่เข้าไป ทำให้กล้ามเนื้อหลังมีความเสียหายน้อย คนไข้จึงฟื้นตัวได้เร็ว
การรักษาการผ่าตัดกระดูกสันหลังในปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วย และเทคโนโลยีที่ช่วยในการผ่าตัดของกระดูกสันหลังที่ใช้ คือ เครื่องเอกซเรย์ระบบซีอาร์ม (C-Arm) เป็นการเอกซเรย์ทันทีที่เราใส่เหล็กดามกระดูกสันหลังเข้าไป โดยใช้เครื่องซีอาร์ม (C-Arm) เป็นตัวฉาย เป็นระบบเรียลไทม์ตอนนั้นเลยว่า เราใส่เหล็กดามกระดูกสันหลังไประดับไหนแล้วบ้าง ลึกแค่ไหนแล้วบ้าง ซึ่งทำให้การผ่าตัดมีความแม่นยำและปลอดภัยมาก
สรุปคือ หากเกิดอุบัติเหตุลักษณะคล้ายๆ กัน แต่การรักษาและเทคนิคที่ใช้ในการผ่าตัดอาจจะแตกต่างกันออกไปตามความหนักเบาของอาการ ซึ่งจะวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางอย่างละเอียด หมดกังวลได้เลยค่ะ ท่านใดที่เกิดอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยด้านกระดูกอื่นๆ สามารถเข้ามาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลรวมแพทย์ฉะเชิงเทราได้เลยนะคะ