/ Knowledge of Health

โรคระบบทางเดินอาหาร

ทำไมต้องดูแลระบบทางเดินอาหาร ??

พร้อมเคล็ดลับที่ทำให้ระบบทางเดินอาหารสุขภาพดี

โดย พญ. ณภกุลธ์ ศิริเพ็ญ แพทย์อายุรศาสตร์ทางเดินอาหาร

 

พญ. ณภกุลธ์ ศิริเพ็ญ

แพทย์อายุรศาสตร์ทางเดินอาหาร

- จบการศึกษา ปริญญาตรีคณะแพทยศาสตร์

(เกียรตินิยมอันดับ 1) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

- ต่อมาได้ศึกษาต่อทางด้านอายุรศาสตร์

จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

- ศึกษาต่อจนจบแพทย์อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปัจจุบันได้เข้ามาเป็นหมอดูแลรักษาคนไข้เกี่ยวกับโรคระบบทางเดินอาหาร ที่โรงพยาบาลรวมแพทย์ฉะเชิงเทรา

 

“เนื่องจากโรคระบบทางเดินอาหารถือเป็นโรคที่ พบได้บ่อยในคนทั่วไป และมักเป็นปัญหากวนใจในการดำเนินชีวิตประจำวัน ดังนั้น หมอจึงอยากให้ทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคนี้ให้มากขึ้นกันนะคะ”

แล้วเราจะรู้ได้ยังไง ว่าเรากำลังเป็นโรคในระบบทางเดินอาหาร ?

 

โรคในระบบทางเดินหารแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ 

1.โรคกระเพาะอาหาร

สาเหตุของโรคกระเพาะอาหารอาหารที่พบบ่อย เช่น แผลในกระเพาะอาหาร, กระเพาะอาหารอักเสบ ซึ่งมีสาเหตุหลายอย่าง อาทิ การติดเชื้อแบคทีเรีย เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลริ, การรับประทานยาแก้ปวดชนิดไม่มีสเตียรอยด์ (NSAIDs) หรือการดื่มสุรา , โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร อาการที่สังเกตเองได้ง่าย ๆ เช่น ปวดท้องจุกท้องใต้ลิ้นปี่ อาหารไม่ย่อย แน่นท้อง เรอบ่อย คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายดำ น้ำหนักลดลงผิดปกติ หรือในบางรายอาจจะไม่แสดงอาการในระบบทางเดินอาหาร แต่ อาจจะมีอาการอ่อนเพลียเพราะมีภาวะโลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็กได้

2.โรคทางลำไส้

อาการทางลำไส้ที่พบบ่อยเช่น การขับถ่ายที่ผิดปกติทั้ง ท้องผูก ถ่ายเหลว ท้องผูกสลับท้องเสีย อุจจาระมีเลือดปน น้ำหนักลด มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ ตรวจอุจจาระพบเม็ดเลือดแดง เป็นต้น

 

แนวทางการรักษาและการวินิจฉัยโรคระบบทางเดินอาหาร

- การตรวจเลือด ตรวจอุจจาระ

- ใช้ยารักษา

- ส่องกล้องทางเดินอาหาร เพื่อช่วยวินิจฉัยโรคระบบทางเดินอาหาร

 

ซึ่งแบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่

การส่องกล้องกระเพาะอาหาร (Esophagogastroduodenoscopy)

- โดยแพทย์จะทำการส่องกล้องเข้าไปในช่องปาก ผ่านหลอดอาหารลงไปในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น ใช้ระยะเวลาในการตรวจเพียง 10-15 นาที

การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)

- โดยแพทย์จะทำการส่องกล้องทางทวารหนักอย่างช้า ๆ เข้าไปถึงส่วนของลำไส้ใหญ่ตอนต้น ใช้ระยะเวลาในการตรวจเพียง 10-15 นาที

 

อาการแบบไหนควรส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร ?

- กลุ่มคนที่มีอาการ ปวดท้องเรื้อรัง ท้องอืด น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ท้องเสียสลับท้องผูก อาเจียนเป็นเลือด กลืนอาหารลำบาก กลืนแล้วเจ็บ เป็นต้น

- กลุ่มคนทั่ว ๆ ไป ที่ไม่มีอาการ แต่มีอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป รวมทั้งคนที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งกระเพราะอาหารและมะเร็งลำไส้

- ผู้ที่เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี และพบว่าผลการตรวจ มีเม็ดเลือดแดงแฝงอยู่ในอุจจาระ (Stool Occult Blood)

 

เคล็ดลับสำหรับการดูแลระบบทางเดินอาหารด้วยตนเองเบื้องต้น

โรคระบบทางเดินอาหารมักพบบ่อยจากการติดเชื้อ ดังนั้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหารและการใช้ชีวิตประจำวันให้ดีขึ้น จะช่วยป้องกันการเกิดโรคได้ เช่น ทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ทานผักผลไม้ที่มีกากใยสูง งดการดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ แบบนี้เป็นต้นค่ะ

 

อย่าลืมดูแลสุขภาพและใส่ใจกระเพาะอาหารของเราให้ดี

หากพบความผิดปกติตั้งแต่เริ่มแรก ก็สามารถเข้ามาปรึกษาคุณหมอได้นะคะ

โทรหาเราได้ที่

033-050-600

พร้อมบริการทุกวัน 24 ชม.

หากท่านมีข้อคำถาม หรือต้องการให้คำแนะนำ ติชม

สามารถกรอกแบบฟอร์มเพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่



โรงพยาบาลรวมแพทย์ฉะเชิงเทรา จำกัด

88/122-123 หมู่ 13 ถนนฉะเชิงเทรา-พนมสารคาม ตำบลบางตีนเป็ด

อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา 24000

โทรศัพท์ : 033-050-600 แฟกซ์ : 033-050-690