คลินิกกายภาพ
คลินิกกายภาพ
คลินิกกายภาพ โรงพยาบาลรวมแพทย์ฉะเชิงเทรา ให้บริการตรวจวินิจฉัยโรค ประเมิน รักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพ ด้วยวิธีการใช้ยา การทำหัตถการ การใช้เครื่องมือที่ทันสมัย การออกกำลังกายจำเพาะ การให้คำแนะนำทางการแพทย์ การใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือหรือทดแทนหรือวิธีการอื่นๆ อีกทั้งยังมุ่งส่งเสริมสุขภาพและป้องกันการเป็นซ้ำหรือภาวะแทรกซ้อนให้กับบุคคลทั่วไป ตั้งแต่ในวัยเด็กจนถึงผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่มีความพิการหรือสมรรถภาพเสื่อมถอย ทั้งทางร่างกาย ทางสติปัญญา ทางการเรียนรู้ ทางการสื่อความหมายและทางจิตใจ โดยมีบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องจากหลากหลายสาขาวิชาชีพที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้าน อันได้แก่ นักกายภาพบำบัดและนักกิจกรรมบำบัด ร่วมกันให้การรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ เพื่อส่งเสริมศักยภาพที่เหลืออยู่ของผู้ป่วยให้สามารถดำรงชีวิตในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมได้ปกติหรือใกล้เคียงปกติมากที่สุดและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยเจ้าหน้าที่ทุกคนมีความมุ่งมั่น ให้บริการด้วยความ ปลอดภัย ได้มาตรฐานวิชาชีพและมาตรฐานระดับสากล
คลินิกกายภาพ โรงพยาบาลรวมแพทย์ฉะเชิงเทรา ให้บริการรักษาและฟื้นฟูด้วยเวชศาสตร์ฟื้นฟูทั้งผู้ป่วยที่นอนในโรงพยาบาลและผู้ป่วยนอก ดังนี้
- ผู้ป่วยและผู้พิการทางกายและการเคลื่อนไหว ทั้งที่เป็นมาแต่กำเนิดหรือเป็นในภายหลัง เช่น แขน-ขาขาด (Limb amputee), อัมพาตครึ่งซีกจากโรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular disorder), อัมพาตจากภาวะไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ (Spinal cord injury), ความผิดปรกติทางการเคลื่อนไหวและพฤติกรรมภายหลังสมองได้รับบาดเจ็บ (Traumatic brain injury), เด็กสมองพิการ (Cerebral palsy), เด็กที่ไม่มีแขนขาแต่กำเนิด (Congenital limb deficiency), เด็กพัฒนาการช้า (Delayed development)
- ผู้ป่วยที่มีอาการปวดเกร็งของกล้ามเนื้อ (Muscle spasm) มีอาการเจ็บปวดทั้งชนิดเรื้อรังและไม่เรื้อรัง (Pain syndrome)
- ผู้ป่วยที่มีโรคหรือความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและข้อต่อ รวมถึงผู้ป่วยหลังการผ่าตัดทางออร์โธปิดิคส์ (กระดูกและข้อ)
- ผู้ป่วยที่ถูกส่งมาตรวจสภาพเส้นประสาท ระบบประสาทและกล้ามเนื้อด้วยวิธีการทางไฟฟ้าวินิจฉัย (ใช้ไฟฟ้ากระตุ้นในตรวจ)
- ผู้ป่วยโรคหัวใจ (Cardiac rehabilitation) ประเภทต่างๆ (เช่น โรคหัวใจขาดเลือด ลิ้นหัวใจรั่ว ฯลฯ) ทั้งก่อนและหลังการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดหรือสวนหัวใจ
- ผู้ป่วยโรคทางปอด (Pulmonary rehabilitation) เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นต้น
- ผู้ที่บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา นักกีฬาที่บาดเจ็บจากการซ้อมหรือแข่งขันที่ต้องการคำแนะนำในการเพิ่มสมรรถภาพในการเล่นกีฬา
- ผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคมะเร็ง หญิงมีครรภ์ ผู้ป่วยที่ถูกไฟไหม้ เป็นต้น
โดยมีเทคนิคการตรวจประเมิน ฟื้นฟู รักษาที่ได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ
- การตรวจประเมินหาสาเหตุและรักษาฟื้นฟูสภาพแก่ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บปวด (Pain) ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การฉีดยาคลายจุดเจ็บปวดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ (Trigger point injection) การทำกายภาพบำบัด การฝังเข็ม (Acupuncture) การออกกำลังแบบต่างๆ (อาทิ การยืดกล้ามเนื้อ การออกกำลังเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เป็นต้น) การฉีดยาเข้าข้อ เป็นต้น
- การตรวจสภาพเส้นประสาท ระบบประสาทและกล้ามเนื้อด้วยวิธีการทางไฟฟ้าวินิจฉัย (ใช้ไฟฟ้ากระตุ้นในตรวจ) หรือเรียกว่า ELECTRODIAGNOSTIC STUDY
- การรักษาด้วยมือโดยวิธีการนวด ดัด ดึง ด้วยเทคนิคพิเศษ ซึ่งปรับให้เหมาะสมกับบริเวณของร่างกายที่รักษาและตามอาการของผู้ป่วย
- รักษาด้วยความร้อนลึก ความร้อนตื้น ความเย็น คลื่นไฟฟ้า คลื่นแสง คลื่นแม่เหล็กและเครื่องมือไฟฟ้าชนิดต่างๆที่ทันสมัย
- ให้คำปรึกษาแนะนำและวิเคราะห์ การทำงานของโครงสร้างร่างกาย การยศาสตร์ ความเหมาะสมของท่าทาง สถานที่และวิธีการทำงานเพื่อป้องกันการเกิดการบาดเจ็บของร่างกายจากความไม่เหมาะสมของภาวะงาน ทั้งในสำนักงาน โรงงานอุตสาหกรรมและสถานที่ทำงานอื่นๆ
- การรักษาด้วยการบริหารร่างกาย โดยวิเคราะห์จากอาการที่ผู้ป่วยเป็นนั้นมาจากสาเหตุความบกพร่องของกระดูก กล้ามเนื้อ หรือเส้นประสาทแล้วออกแบบท่าการบริหารร่างกายให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
- การตรวจประเมิน รักษาและกระตุ้นพัฒนาการ (Early intervention) สำหรับผู้ป่วยเด็กกลุ่มต่างๆที่มีความพิการ (Child disabled) เช่น มีปัญหาพัฒนาการช้า มีปัญหาทางการเคลื่อนไหว หรือพิการทางสมอง การตรวจประเมินและกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก เพื่อให้เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าได้มีพัฒนาการที่สมวัย
- การตรวจประเมินและสั่งการรักษาด้วยกายอุปกรณ์เสริม (Orthosis คือเครื่องประคองร่างกายชนิดต่างๆ) สำหรับผู้ป่วยกลุ่มต่างๆ เช่น ปวดหลังที่บั้นเอว เส้นเอ็นมือขาด ข้อเท้าตก เป็นต้น
เครื่องมือทางกายภาพบำบัดที่ทันสมัย
- เครื่องอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound Diathermy) เพื่อลดอาการปวดกล้ามเนื้อ คลายกล้ามเนื้อ ลดกระบวนการอักเสบและเพิ่มการไหลเวียนโลหิต
- เครื่องดึงกระดูกสันหลังไฟฟ้า (Spinal Traction) บริเวณคอและหลัง เพื่อบรรเทาอาการผิดปกติบางอย่างที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากเส้นประสาทถูกกดทับจากการแคบตัวลงของช่องว่างระหว่างกระดูก ภาวะกระดูกเสื่อม หรือหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน
- เครื่องลดปวดด้วยกระแสไฟฟ้า (TENS) เป็นการใช้ไฟฟ้ากระตุ้นผ่านเส้นประสาทสัมผัสทางผิวหนัง เพื่อลดความเจ็บปวด อาการชา หรือความรู้สึกที่ผิดปกติไปจากเดิม ด้วยการส่งผ่านกระแสไฟฟ้าความเข้มต่ำ ไปกระตุ้นเส้นประสาทรับความรู้สึกปวดที่อยู่บริเวณผิวหนังชั้นตื้น
- เครื่องกระตุ้นกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้า (Electrical Stimulation) เป็นการใช้ไฟฟ้ากระตุ้นกล้ามเนื้อเพื่อหวังผลในการรักษาที่แตกต่างกันตามสภาวะของการได้รับบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ ซึ่งจุดประสงค์ของการรักษาด้วยการกระตุ้นไฟฟ้ามีหลายอย่าง เช่น เพื่อการชะลออการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อ ป้องกันการเกิดเนื้อเยื่อพังผืดในกล้ามเนื้อ เพิ่มสารอาหารของเส้นประสาท เพื่อสอนการทำงานของกล้ามเนื้อใหม่ ในกรณีที่มีการเคลื่อนย้ายเส้นเอ็นไปยังที่ตำแหน่งใหม่ และใช้ในการลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อโดยการกระตุ้นกล้ามเนื้อกลุ่มที่ทำงานตรงกันข้าม
- แผ่นประคบร้อน (Hydrocollater Pack) เพื่อบรรเทาอาการปวดของกระดูกและกล้ามเนื้อ ลดความตึงตัวของข้อต่อ เนื้อเยื่อพังผืดและกล้ามเนื้อที่อยู่ในชั้นตื้น ด้วยการใช้ความร้อนในการรักษา
- การรักษาด้วยการแช่ขี้ผึ้ง (Parafin) เพื่อบรรเทาอาการปวดกระดูกและกล้ามเนื้อ ลดความตึงตัวของข้อต่อ เนื้อเยื่อพังผืดและกล้ามเนื้อในบริเวณข้อต่อที่มีขนาดเล็ก เช่น นิ้วมือและนิ้วเท้า
- เครื่องอบความร้อนคลื่นสั้น (Short wave diathemy) คลื่นความร้อนใช้ในการลดปวด และลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ บริเวณ กล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ
- อุปกรณ์ออกกำลังกาย (Exercise equipment ) สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยอัมพาทครึ่งซีก หรือ อัมพาทครึ่งท่อน ผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการเดิน
>>>โปรแกรมกายภาพสำหรับคุณแม่หลังคลอดกดที่นี่<<<
ด้วยเครื่อง Ultrasound เพื่อกระตุ้นระบบไหลเวียนเลือด นวดกระตุ้นการผลิตน้ำนม และประคบร้อนเปิดท่อน้ำนมสำหรับคุณแม่หลังคลอด สามารถทำได้ตั้งแต่่หลังคลอดได้ 1 วัน
>>>โปรแกรมกายภาพบำบัดกดที่นี่<<<
สำหรับผู้ที่ปวดหัว ปวดไหล่ หลัง แขน เรื้อรังเป็นระยะเวลามากกว่า 3 เดือน การกายภาพเป็นอีก 1 วิธิเพื่อช่วยรักษาอาการปวดต่างๆ ที่เกิดจากการนั่งยืนเดิน หรือวางอิริยาบถที่ผิดท่าเป็นเวลานาน จนก่อให้เกิดเป็นอาการปวดเรื้อรัง แต่ส่วนใหญ่มักมองข้ามวิธีที่ปลอดภัยแต่รักษาได้ผล ตับ ไต ไม่ถูกทำลายจากการรับประทานยามากเกินความจำเป็น และเป็นระยะเวลานาน ขอแนะนำการกายภาพบำบัด เพื่อรักษาให้ถูกจุด และเพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟูตัวเองให้หายจากอาการเจ็บปวดต่างๆ
รายการตรวจดังนี้
- ตรวจประเมินทางกายภาพบำบัด
- รักษาด้วยเครื่องเหนือเสียง 1 จุด
- รักษาด้วยเครื่องเหนือเสียง 3 จุด
- กระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้าลดปวด 1 จุด
- กระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้าลดปวด 2 จุด
- ประคบร้อน
โปรแกรมกายภาพบำบัดสำหรับลดอาการปวดข้อและบ่า
โปรแกรม A เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาปวดในระยะอักเสบ หรือมีส่วนปวดตำแหน่งเดียว หรือบริเวณแคบ
โปรแกรม B เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาปวดในระยะอักเสบเรื้อรัง หรือมีส่วนปวดหลายตำแหน่ง หรือบริเวณค่อนข้างกว้าง
โปรแกรม C เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาปวดในระยะอักเสบเรื้อรัง หรือมีส่วนปวดหลายตำแหน่ง หรือบริเวณกว้าง