คลินิกกระดูกและข้อ
คลินิกกระดูกและข้อ
โรคกระดูกและข้อ ในปัจจุบันพบได้มากขึ้นเรื่อยๆโดยมีด้วยกันหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นโรคที่เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น กระดูกหัก ต่างๆ เอ็นรอบข้อฉีกขาด โรคจากการทำงานและเล่นกิจกรรมที่หักโหม เช่น อาการปวดหลัง หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ปวดคอ นิ้วล็อก ปวดตามข้อต่อต่างๆ เช่น ปวดข้อเข่าหรือข้อเข่าอักเสบ ปวดข้อเท้า โรคโดยกำเนิด เช่น เท้าปุก กระดูกสันหลังคดงอ โรคจากการอักเสบติดเชื้อ ส่งผลให้การดำเนินชีวิตขาดความกระฉับกระเฉงคล่องแคล่ว
"คลินิกกระดูกและข้อ" มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับเข้าสู่สภาวะปกติและดำเนินชีวิตได้ดีเช่นเดิม โดยพร้อมให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูทุกท่านที่ทุกข์ทรมานจากอาการบาดเจ็บที่กระดูกหรือความผิดปกติของกระดูกและข้อต่อเฉียบพลันและเรื้อรัง
ให้การบริการและการรักษา
- ศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ทั่วไป
- ศัลยกรรมผ่าตัดกระดูกสันหลัง
- โรคทางออโธปิดิกส์ในเด็ก
- การรักษาโดยการส่องกล้องและเวชศาสตร์การกีฬา
- ศัลยกรรมการเปลี่ยนข้อเทียม
- สะโพกเทียม
- ข้อเข่าเทียม
- หัวไหล่
- ข้อศอก
- ศัลยกรรมเกี่ยวกับมือ
โดยสามารถปรึกษาแพทย์ที่ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ หากท่านมีอาการต่อไปนี้
- ความเจ็บปวดและการบาดเจ็บของระบบโครงสร้าง กระดูก ข้อ เอ็น กล้ามเนื้อ
- ปวดต้นคอ ปวดหลัง ปวดเอว
- อุบัติเหตุกระดูกหัก ข้อเคลื่อน ทั้งกระดูกสันหลังและแขนขา
- บาดเจ็บจากการเล่นกีฬาหรือจากการทำงาน
- ปวดไหล่ แขน ศอก มือและเท้า
- เอ็นและกล้ามเนื้อฉีกขาด
- ความพิการผิดรูปร่าง ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
- หลังคด
- ข้อโก่งงอ
- มือ เท้า นิ้ว ผิดรูปร่าง นิ้วหัวแม่เท้าเก
- ขาสั้น ยาว ไม่เท่ากัน
- ความเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม ข้อสะโพกเสื่อม
- กระดูกพรุน
- การอักเสบและการกดทับเส้นประสาท
- มือชา นิ้วล็อค
- แขนขา อ่อนแรง
- ข้อบวม โรคเก๊าท์ โรคข้ออักเสบอื่นๆ
>>>แพคเกจ เข่าเสื่อมเปลี่ยนได้ กดที่นี่<<<
>>>แพคเกจ ตรวจวัดมวลกระดูก กดที่นี่<<<
โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ อาการ การรักษา และการผ่าตัดใส่สกรูที่กรูดูกสันหลัง
โดยนายแพทย์ชาญจิตร แสงวัฒนะรัตน์ แพทย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ >>>กดที่นี่<<<
?? ตอบข้อสงสัย ?? กระดูกขาหัก หลังผ่าตัดเดินได้ทันทีจริงหรอ ?? ไม่ใช่ห้ามเดิน 3 เดือนหรอ ? ผ่าตัดทำยังไง หมอใส่อะไรเข้าไปนะ?
-->> โดย นพ. กนกพล ธนกิจรุ่งทวี แพทย์ศัลยกรมกระดูกและข้อ >>>กดที่นี่<<<
หมายเหตุ: การรักษาโดยวิธีนี้ สามารถใช้สิทธิเบิกตามข้อกำหนดของพ.ร.บ.และประกันได้
ความพร้อมของเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจและรักษาผู้ป่วยโรคกระดูก
เครื่องตรวจวัดมวลกระดูก (Dual-energy X-rayAbsorptiometry:DXA)
- ตรวจมวลกระดูก เพื่อป้องกันและเพื่อรักษาโรคกระดูกพรุนด้วยเครื่อง DXA พร้อมด้วยการพบแพทย์สาขาศัลยกรรมกระดูกและข้อเครื่อง DXA จะมีการรายงานผลให้ทราบว่าท่านเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนหรือไม่ ไม่ต้องรอให้อยู่ในภาวะเสี่ยง ก็สามารถเข้ารับการตรวจได้
เครื่องเอกซเรย์ (Digital X-ray)
- เป็นการตรวจโดยการฉายรังสีโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ร่วมสร้างภาพขึ้นมา ภาพจะยังไม่เห็นบนแผ่นฟิล์มโดยตรง สามารถดูภาพได้ผ่านทางจอมอนิเตอร์ เหมาะสำหรับวินิจฉัยผู้ป่วยกระดูกสันหลัง กระดูกหัก กระดูกร้าว เป็นต้น จะใช้ในเคสที่ไม่ซับซ้อนมากหรือต้องการดูการเรียงตัวและความเสียหายของกระดูก
เครื่อง CT-scan 128 Slices
- เป็นเครื่องเอกซเรย์ชนิความเร็วสูง สามารถสแกนได้เร็วถึง 128 ภาพ ต่อการหมุน 1 รอบ โดยใช้เวลาเพียง 0.4 วินาที สามารถสร้างภาพ 3 มิติ ที่มีความคมชัดสูง มีความแม่นยำและปลอดภัย แถมยังช่วยลดปริมาณรังสี ทำให้ผู้เข้าบริการได้รับปริมาณรังสีน้อยกว่าเครื่อง CT Scan แบบทั่วๆ ไป เหมาะสำหรับวินิจฉัยผู้ป่วยกระดูกแตก กระดูกผิดรูป รวมถึงภาวะวัณโรคกระดูก หรือมะเร็งกระดูก เป็นต้น จะใช้ในเคสที่แพทย์คิดว่ามีความซับซ้อนในการผ่าตัดเนื่องจากต้องนำผลมาใช้ในการวางแผนการผ่าตัด
เครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่แบบซีอาร์ม (C-Arm)
- เป็นเครื่องเอกซเรย์ระบบดิจิตอลแบบเคลื่อนที่ได้ แขนรูปตัว C สามารถเคลื่อนที่โค้งและเลื่อนได้รอบทิศทาง ใช้ขณะทำการผ่าตัด เพื่อให้แพทย์สามารถดูตำแหน่งของอวัยวะต่างๆ เห็นการขยับของกระดูกได้ตลอดเวลา ทำให้ประเมินได้ดีและแม่นยำขึ้น และบันทึกภาพได้ตลอดการทำหัตถการ
เครื่องเอ็มอาร์ไอ (MRI)
- การตรวจด้วยเครื่อง MRI (Magnetic Resonance Imaging) หรือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คือ เทคนิคการสร้างภาพที่ใช้รังสีวิทยาเพื่อการตรวจร่างกาย โดยเครื่องที่ใช้ตรวจมีการปล่อยสนามแม่เหล็กและคลื่นวิทยุความเข้มสูงออกมา ทำให้เห็นภาพเหมือนจริงของอวัยวะภายในต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะกระดูก กล้ามเนื้อ สมอง หัวใจ และส่วนที่เป็นมะเร็ง จะเป็นการตรวจที่ให้ความแม่นยำและถูกต้องสูง การตรวจด้วยเครื่อง MRI นี้ไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดและไม่มีอันตรายจากรังสีตกค้าง เหมาะสำหรับวินิจฉัยผู้ป่วยกระดูกสันหลังเสื่อม กระดูกทับเส้น ปวดคอ ปวดหลัง แขนขาอ่อนแรง หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
เตียงผ่าตัด Fracture Table
- เป็นเตียงผ่าตัดพิเศษ ระบบไฟฟ้า สำหรับผ่าตัดกระดูก ใช้คู่กับ X-ray , C-arm ได้ สามารถควบคุมผ่านรีโมทไฟฟ้า ทำให้สะดวกสบาย จัดท่าง่ายต่อการผ่าตัดใช้สำหรับการผ่าตัดตั้งแต่สะโพก , ขา , เข่า ลงไป
การผ่าตัดใส่แกนเหล็กดามในโพรงกระดูกแบบแผลเล็ก
โดย นพ.กนกพล ธนกิจรุ่งทวี แพทย์สาขาศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลรวมแพทย์ฉะเชิงเทรา
เป็นการรักษาคนไข้ที่กระดูกหักแบบเจาะรูเพื่อสอดแกนเหล็กดามกระดูกในส่วนที่หัก
- ข้อดีของการรักษาโดยวิธีนี้ คือ แผลเล็ก ไม่ตัดกล้ามเนื้อ เสียเลือดน้อย คนไข้ฟื้นตัวเร็วและสามารถเดินลงน้ำหนักได้ทันทีหลังผ่าตัด
- ตัวเหล็กที่ใช้สอดเข้าไปในโพรงกระดูก มีน้ำหนักเบา ไม่เป็นสนิม ทำจากวัสดุไทเทเนียม หลังใส่เหล็กไม่จำเป็นต้องถอดออก หากไม่มีอาการปวดผิดปกติหรือเหล็กเคลื่อนตัว สามารถใส่ไว้เช่นนั้นได้ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดซ้ำเพื่อเอาเหล็กออก และลดโอกาสที่จะต้องผ่าตัดแก้ไขเนื่องจากกระดูกไม่ติด หรือติดผิดรูปจากการผ่าตัดโดยใส่แผ่นเหล็กดามกระดูกแบบเดิม
- ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่ทำการรักษา จะพบบ่อยจากอุบัติเหตุต่างๆ อันดับต้นๆ คือจากอุบัติเหตุทางรถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์ การพลัดตกหกล้ม และอุบัติเหตุจากการเล่นกีฬา เป็นต้น
- ผู้ป่วยรายนี้ กระดูกขาหักจากการประสบอุบัติเหตุทางรถ นพ.กนกพล ธนกิจรุ่งทวี แพทย์สาขาศัลยกรรมกระดูกและข้อ เป็นผู้ทำหัตถการ ขณะผ่าตัดสอดเหล็กในโพรงกระดูก แพทย์จะใช้วิทยาการดูตำแหน่งการสอดเหล็กด้วยเครื่อง Digital C-arm โดยเครื่องนี้ แพทย์จะเห็นตำแหน่งของเหล็กแบบ Real-Time หรือแบบทันทีที่เหล็กมีการเคลื่อนตัว และเครื่องที่ใช้อยู่ในห้องผ่าตัดของโรงพยาบาลรวมแพทย์ฉะเชิงเทรา ถือว่าเป็นเครื่องที่มีความชัดที่เทียบเท่ากับโรงพยาบาลชั้นนำของประเทศไทยรพ.อื่นด้วย
- ดังนั้น ผู้รับบริการสามารถมั่นใจในการรักษาของแพทย์และวิทยาการของโรงพยาบาลรวมแพทย์ฉะเชิงเทราได้ เมื่อท่านเจ็บป่วยมา เราจะดูแลรักษาท่านให้ดีที่สุดตามที่ท่านได้ไว้วางใจให้เราดูแล
- มั่นใจ ปลอดภัย รักษาหาย ได้ด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทันสมัย ที่โรงพยาบาลรวมแพทย์ฉะเชิงเทรา